Brainspotting Therapy ช่วยบำบัดสมาธิสั้นได้อย่างไร? Brainspotting Therapy and ADHD treatment

627 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Brainspotting Therapy ช่วยบำบัดสมาธิสั้นได้อย่างไร? Brainspotting Therapy and ADHD treatment

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา

Marid Kaewchinda, Ph.D.
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
และผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัด EMDR/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner

 

Brainspotting Therapy

 

ช่วยบำบัดสมาธิสั้น(ADHD)

ได้อย่างไร?

Brainspotting Therapy 
and ADHD treatment


ADHD (attention deficit hyperactivity disorder) หรือโรคสมาธิสั้น มีสาเหตุมาจากอะไรไม่เป็นที่ปรากฎแน่ชัด แต่จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสาเหตุมาจากปัจจัยด้านพันธุกรรมและ ความเสี่ยงต่างๆช่วงตั้งครรภ์ เช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด สมองกระทบกระเทือน การตั้งครรภ์ในช่วงที่อายุน้อยเกินไป การคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักน้อยเกินไปเมื่อคลอด

งานวิจัยไม่ได้บ่งชัดในเรื่องปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลทำให้เด็กที่คลอดมีภาวะสมาธิสั้น หรือ ADHDได้ เช่น การบริโภคน้ำตาลที่เยอะเกิน พฤติกรรมการติดทีวี หรือสภาพสังคมครอบครัวที่เศรษฐกิจไม่ดี อย่างไรก็ตามปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นตัวเร่งทำให้อาการของโรคสมาธิสั้น (ADHD) แย่ลงได้

 

รู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD?

การวินิจฉัยว่าเด็กเป็นภาวะสมาธิสั้น (ADHD) หรือไม่นั้นมีขั้นตอนและกระบวนการในการวินิฉัยและ ไม่สามารถสรุปได้จากการทำแบบทดสอบเพียงชนิดเดียว

โรคสมาธิสั้น(ADHD) อาจมีอาการต่างๆเหล่านี้ร่วมด้วยเช่น ปัญหาการนอนหลับ วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ปัญหาด้านการเรียนรู้ ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถนั่งนิ่งได้ โดยเฉพาะในสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ ไม่สามารถมีสมาธิหรือทำงานได้สำเร็จ ถูกดึงความสนใจไปได้ง่าย มีปัญหาการฟัง ไม่สามารถทำตามขั้นตอนคำสั่งได้ เบื่อง่าย ไม่จดจ่อ ไม่ใส่ใจความเรียบร้อย ลืมง่าย  หรืออาการอื่นๆที่คล้ายกันร่วมด้วย

หากสงสัยว่าลูกมีอาการคล้ายจะเป็นสมาธิสั้นเบื้องต้นควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อช่วยวินิฉัยอาการ อาจเข้ารับการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือ จิตแพทย์ หรือ หมอเด็กประจำครอบครัว

โดยปกติหมอเด็กประจำครอบครัวจะสอบถามไปยังคุณครูเพื่อเช็คข้อมูลประวัติพฤติกรรมของเด็กรวมทั้งเช็คพัฒนาการจากผู้ปกครองร่วมด้วยเพื่อมาทำการประกอบการวินิฉัย

อย่างไรก็ตามโดยหลักสากลจะมีเครื่องมือเป็นแนวทางในการวินิฉัยโรคสมาธิสั้นโดย APA หรือ the American Psychiatric Association’s Diagnostic and Statistical Manual, Fifth edition (DSM-5) ซึ่งทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ และพิจรณาอาการของภาวะโรคสมาธิสั้น(ADHD)



ภาวะสมาธิสั้น (ADHD)ในผู้ใหญ่มีอาการอย่างไร?

สำหรับภาวะสมาธิสั้น(ADHD) ที่เริ่มเข้าสู่อายุ 17 ปี ถือว่าเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โรคสมาธิสั้น(ADHD) ในผู้ใหญ่คือปัญหาด้านสุขภาพจิตที่ส่งผลเสียมากมายตามมา รวมทั้งการเกิดปัญหาชีวิตอย่างต่อเนื่อง เช่น มีปัญหาในการใช้สมาธิ ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่อยู่นิ่ง ไม่มีสติเวลาคิดตัดสินใจมักด่วนได้ และหลายพฤติกรรมที่นำสู่ปัญหาด้านความสัมพันธ์ การทำงานด้อยประสิทธิภาพ การเรียนตกต่ำ ความมั่นใจในตัวเองต่ำ และมักเกิดปัญหาอื่นๆตามมาต่อเนื่อง

ถึงแม้ในวัยผู้ใหญ่อาการไม่อยู่นิ่งอาจลดลงเมื่อเทียบกับวัยเด็ก แต่ปัญหาเรื่องหงุดหงิดเวลาไม่ได้ดั่งใจยังคงอยู่ รวมทั้งพฤติกรรมด่วนได้ไม่คิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจและไม่มีสมาธิจดจ่อกับการทำสิ่งใดให้สำเร็จก็ยังเป็นอยู่

ในช่วงนี้วัยผู้ใหญ่อาจสังเกตได้ยากกว่าตอนเป็นเด็ก อย่างไรก็ตามอาการมักจะคล้ายในช่วงวัยเด็กบางประการและอาจต้องได้รับการทำแบบทดสอบหลายอย่างประกอบกัน แค่แบบทดสอบเดียวอาจไม่สามารถระบุได้ การทดสอบด้านการแสดงออกทางร่างกายหรืออาการที่มี อาจต้องมีการรวบรวมประวัติการรักษาด้านสุขภาพที่ผ่านมา และควรทำแบบทดสอบด้านจิตวิทยาในเรื่องสุขภาพจิต และควรได้รับการวัดระดับในการประเมินผลโรคสมาธิสั้น(ADHD)ด้วย

นอกจากนี้ยาบางชนิดอาจส่งผลรบกวนหรือกระตุ้นให้เกิดอาการคล้ายโรคสมาธิสั้น(ADHD) เช่น ยาทางจิตเวช ยาต้านโรคซึมเศร้า หรือยาลดอาการวิตกังวล อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการเรียนภาษา

รวมทั้งยาบางประเภทอาจส่งผลเสียต่อสมรรถภาพทางด้านการใช้ความคิด และส่งผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรม เช่นยาที่เกี่ยวกับพัฒนาการที่บกพร่อง ยาโรคลมชัก ยาไทรอยด์ ยานอนหลับ ยาความดัน ยาเกี่ยวกับประสาทและสมอง รวมถึงสารเสพติดหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ก็อาจมีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดสมาธิสั้นด้วยเช่นกัน

 

 


อย่างไรก็ตามควรให้ความใส่ใจกับภาวะ(ADHD) หรือโรคสมาธิสั้น เพราะในวัยผู้ใหญ่อาจมีภาวะอาการของโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าร่วมด้วย

นอกจากนั้นในบางรายอาจมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ไม่ให้ความร่วมมือ ใช้ความรุนแรง มีกรอบความคิดเดิมยึดติด มีปัญหาเรื่องการนอน หรืออาจติดการใช้สารเสพติดได้


การรักษาโรคสมาธิสั้น(ADHD)ด้วยยาอย่างเดียวเพียงพอไหม?

การรักษาภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ด้วยการยาเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หากต้องการช่วยพัฒนาศักยภาพและทักษะการแก้ปัญหาชีวิตในคนที่มีภาวะสมาธิสั้น(ADHD) นอกจากการมารับยาเพื่อลดอาการแล้ว ยังควรต้องได้รับความรู้และทักษะด้านการดูแลจิตใจจากนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญควบคู่กันไปอีกด้วยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 



การมาพบนักจิตวิทยาสามารถช่วยภาวะสมาธิสั้น(ADHD)ได้อย่างไร?

ภาวะสมาธิสั้น(ADHD)นั้น หากโตเป็นผู้ใหญ่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมาพบนักจิตวิทยาเพื่อทำจิตบำบัดหรือ psychotherapy จะสามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้น

การทำจิตบำบัดในคนที่มีภาวะสมาธิสั้น(ADHD)จะสามารถเกิดการพัฒนาเรื่องต่างๆดังนี้

  • ได้เรียนรู้ทักษะด้านการบริหารจัดการกับเวลา หรือการจัดการกับการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ
  • เรียนรู้ทักษะการควบคุมตัวเองหรือลดพฤติกรรมการกระทำหรือตัดสินใจโดยไม่คิดก่อน
  • เรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
  • เรียนรู้ในการรับมือกับปมบาดแผลทางใจในอดีต รับมือกับปัญหาด้านการเรียน รับมือกับการทำงาน หรือปัญหาด้านการเข้าสังคม
  • พัฒนาศักยภาพด้านความมั่นใจในตัวเอง self-esteem

 



 

Brainspotting Therapy สามารถช่วยลดภาวะสมาธิสั้น(ADHD) ได้อย่างไร?

การบำบัดด้วยbrainspotting ในช่วงเริ่มต้นถูกออกแบบมาเพื่อรักษาอาการปมบาดแผลทางใจหรือ PTSD และมีประสิทธิภาพในการช่วยจัดการกับความคิดด้านลบและความคิดที่เป็นอุปสรรคในชีวิต

การทำงานของbrainspotting จะแตกต่างจากการทำcounseling หรือ talk therapy โดยจิตบำบัดbrainspotting จะทำงานไปในส่วนของdeep brain และทำการจัดการกับความทรงจำที่ซ่อนภายใต้จิตสำนึก เป็นการมุ่งทำงานตรงกับสมองและจัดการกับความจำที่เป็นปัญหา

 

 จิตบำบัด brainspotting ช่วยบำบัดอาการต่างๆเหล่านี้ให้ดีขึ้นในระยะเวลาอันสั้น

  • ช่วยภาวะวิตกกังวล ตื่นตระหนก ให้ดีขึ้น (anxiety& panic)
  • ช่วยภาวะซึมเศร้าให้หายเป็นปกติ (depression)
  • ช่วยบรรเทารักษาปมบาดแผลที่ส่งผลด้านร่างกายและจิตใจ     (physical and emotional trauma PTSD and complex PTSD)
  • ช่วยภาวะทดถอยหลังการพักฟื้นจากการบาดเจ็บ อุบัติเหตุ หรือการรักษาตัวที่ยาวนาน
  • สร้างทักษะด้านself-esteem ให้แข็งแรง พลักดันด้านพลังใจในการแข่งขันโดยเฉพาะความสำเร็จด้านกีฬา และช่วยความคิดที่บวกและสร้างสรรค์
  • ช่วยสภาพจิตใจจากภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง
  • ช่วยภาวะติดสารเสพติด หรือภาวะถอนยาให้ดีขึ้น
  • ช่วยภาวะอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้นและ ออทิสติก (Issues related to ADHD and Autism)
  • ช่วยภาวะโรคหวาดกลัวบางอย่างให้ดีขึ้น (phobias)
  • ช่วยภาวะย้ำคิดย้ำทำ (OCD)ให้ดีขึ้น

 

credited picture to Global Citizen Therapy

 

การรักษาด้วย Brainspotting มีขั้นตอนอย่างไร?

การทำงานของ
brainspotting จะเข้าจัดการโดยตรงกับปมความทรงจำเก่าที่ทำให้เจ็บปวด ที่ถูกเก็บซ่อนไว้ในสมองส่วนในสุด และทำให้มีความคิดติดขัดไม่สามารถก้าวข้ามผ่านไปได้

การทำบำบัดด้วยbrainspotting จะช่วยให้เกิดการปลดล็อคความคิดและความทรงจำที่เป็นปัญหาและเกิดกระบวนการฟื้นฟูด้านจิตใจอันเป็นผลมากจากการเชื่อมโยงของระบบประสาทและสมองที่ทำงานสัมพันธ์กับร่างกายดังนั้นในระหว่างการทำบำบัดมักจะเกิดการตอบสนองด้านร่างกายที่ไม่พึงประสงค์ที่แตกต่างกันในแต่ละคน

การทำบำบัดด้วยBrainspotting Therapy ปลอดภัยและเป็นการทำบำบัดแบบธรรมชาติ โดยไม่ได้ใช้ยาหรือสารเคมีใดๆ ข้อควรระวังของการทำจิตบำบัด Brainspotting มีแค่อย่างเดียวคือควรได้รับการทำจิตบำบัดbrainspottingกับผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ผ่านการฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดีด้านจิตบำบัด brainspotting therapyเท่านั้น

เนื่องจากกระบวนการด้านความทรงจำและการทำงานด้านประสาทและสมองจะส่งผลต่อระบบร่างกายในระหว่างเข้ารับการทำบำบัด ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญต้องคอยให้ความช่วยเหลือในทุกขั้นตอนโดยเฉพาะตอนที่เกิดการย้อนความจำอันเลวร้ายและมีการตอบสนองด้านร่างกาย



Brainspotting Therapy

สามารถช่วยจัดการกับภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ในเรื่องใดบ้าง?

Brainspotting Therapyสามารถช่วยเพิ่มทักษะให้คนมีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ได้ดังนี้

  • ทำให้ตระหนักรู้ถึงตัวกระตุ้นที่ส่งผลต่ออาการที่จะแสดงออก
  • แก้ปมบาดแผลทางใจที่มีอยู่และยังไม่ได้รับการแก้ไข อาจเป็นสิ่งทำให้เสียใจ วิตกกังวลโดยไม่รู้ตัวหรือไม่เห็นภาพชัดเจน
  • ทำให้ค้นพบสิ่งที่ทำให้เกิดความคิดที่ติดขัด ฉุดรั้งไม่ให้ชีวิตดำเนินการไปต่อ
  • ปลดปล่อยความกลัว วิตกกังวล ความเครียดที่มี และสามารถลดอาการของภาวะโรคซึมเศร้า
  • brainspotting therapy เป็นจิตบำบัดที่สามารถทำควบคู่กับกิจกรรมการผ่อนคลายแบบอื่นๆได้ด้วย

 




 

Brainspotting therapy เป็นที่ยอมรับในทางการแพทย์มากขึ้นในปัจจุบันสำหรับการรักษาด้านจิตเวชจากทั่วโลกในการบำบัด PTSD ปมบาดแผลทางใจ Depression โรคซึมเศร้า  Anxiety โรควิตกกังวล Tourette syndrome โรคกล้ามเนื้อกระตุก AHDH โรคสมาธิสั้น Autism โรคออทิสติก OCD โรคย้ำคิดย้ำทำ

จากผลการทดสอบในคนที่มีภาวะอาการทางจิตเวช หรือ mental health problems ในหลายประเทศพบว่าหลังได้รับการบำบัดด้วย

Brainspotting therapy ทำให้อาการต่างๆเหล่านี้ลดลง 

  • ตากระตุก, หน้ากระตุก, อาการขมวดคิ้ว,
  • รูม่านตาไม่ตอบสนองกับแสง
  • กลืนลำบาก, หาว ไอ, ขากระตุก, ร่ายกายกระตุก
  • โรคซึมเศร้า
  • โรควิตกกังวล,เครียด
  • โรคสมาธิสั้น
  • โรคติดสารเสพติด



อย่างไรก็ตามโรคสมาธิสั้นอาจฟังดูน่าวิตกกังวลแต่เชื่อหรือไม่ว่ามีคนเป็นภาวะสมาธิสั้น(ADHD)ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและมีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกอยู่มากมาย

ตัวอย่างเช่นRichard Branson, ผู้ก่อตั้ง Virgin Group เขาประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงในวงการด้านธุรกิจหลายอย่าง ทั้งด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจด้านระบบโทรคมนาคมสื่อสาร ธุรกิจด้านสุขภาพความงามรวมถึงธุรกิจด้านบังเทิงดนตรี

ภาวะADHD หรือภาวะสมาธิสั้นของเขาเป็นอุปสรรคในการเรียนหนังสือ การเรียนเขาตกต่ำเป็นอย่างมากและครูใหญ่เคยพูดกับเขาในวันเรียนสุดท้ายว่าเขาอาจจะมีชีวิตบั้นปลายในคุกหรือไม่ก็เป็นเศรษฐีไปเลย

แต่เพราะเขาได้เอาจริงเอาจังกับการศึกษาเรื่องการทำงานของสมองและพัฒนาศักยภาพที่ด้อยและเป็นปัญหาให้เป็นประโยชน์นั่นเองจึงทำให้เขาผ่านพ้นภาวะADHD สมาธิสั้นมาได้

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคนดังที่เป็นภาวะสมาธิสั้น(ADHD) และประสบความสำเร็จในชีวิตอีกหลายคน ยกตัวอย่าง เช่น Bill Gates and Walt Disney

หากเพียงแต่เราเข้าใจการทำงานของระบบสมองในคนที่มีภาวะสมาธิสั้น(ADHD) ก็จะช่วยให้เขาพัฒนาศักยภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไปได้

ปัญหาการทำงานด้านสมองของคนที่มีภาวะสมาธิสั้น(ADHD) มักมีอุปสรรคทำให้การทำงานของสมองมีปัญหาใน 3 ฟังชั่น  คือ

1. การทำงานด้านสมาธิ 2, การควบคุมความคิดการตัดสินใจ และ3. การบริกหารจัดการวางแผน

 

อย่างไรก็ตามคนที่มีภาวะสมาธิสั้น(ADHD) สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้หากรู้จักปรับเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส และเข้าใจการทำงานในระบบสมองและใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น เช่น

1.   ภาวะสมาธิสั้น(ADHD) มีจุดดีที่พิเศษเช่นการทำงานของสมองที่แตกต่างทำให้เกิดการเปิดรับการเรียนรู้ที่ไม่จำกัด มีความคิดสร้างสรรค์ มีพลังไม่เหน็ดเหนื่อย มีจิตนาการสูง และ มีไอเดียความคิดนอกกรอบที่ไม่หยุดยั้ง

2.   ภาวะสมาธิสั้น(ADHD)มีความสนใจในทุกสิ่งมีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และมีความสามารถในแบบ hyperfocusหากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ตนสนใจเป็นพิเศษ

3.  ภาวะสมาธิสั้น(ADHD)ไม่ค่อยอยู่นิ่งหรือเหน็ดเหนื่อย มีพลังงานในการพัฒนาความสำเร็จที่หนักหน่วงและรวดเร็วกว่าคนปกติเนื่องจากแรงกำลังไม่หายไปง่ายๆและสามารถตัดสินใจทำอะไรได้อย่างไม่ลังเล และสามารถทำงานได้ดีหากได้โอกาสในการเป็นเจ้านายตนเองหรือทำโปรเจ็คของตัวเอง



Brainspotting Therapy

จะช่วยแก้ภาวะสมาธิสั้น(ADHD)ได้อย่างไร?


หากให้คนมีภาวะADHD หรือสมาธิสั้นได้ทำจิตบัดบัดหรือ psychotherapy ด้วยเทคนิค brainspotting แล้วจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆต่อไปนี้ให้เพิ่มมากขึ้นได้

1.   ช่วยให้คนมีภาวะADHD หรือ สมาธิสั้นและครอบครัวมีทักษะเข้าใจในปัญหาด้านอารมณ์ และพฤติกรรมและใช้ชีวิตอยู่กับมันได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

2.   ช่วยให้คู่ชีวิตหรือครอบครัวของคนที่มีภาวะสมาธิสั้นหรือ ADHD ได้มีทักษะวิธีในการจัดการกับพฤติกรรมหรือ การมีปฎิสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีขึ้น

3.   ช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ พฤติกรรมตอบสนองเกินกว่าเหตุ หรือพฤติกรรมไม่นิ่ง ยุกยิกตลอดเวลา

4.   มีการควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ในเรื่องการตัดสินใจ หรือเลือกจะทำการใดๆโดยคำนึงถึงผลที่ตามมามากขึ้น ระยะยาวมากขึ้น

5.   ช่วยให้มีทักษะในเรื่องการบริการจัดการข้าวของและเวลาได้ดีขึ้น

6.   ช่วยลดความเครียด วิตกกังวลเวลามีสถานการณ์ที่ไม่ปกติ

7.   ช่วยลดอารมณ์โกรธ หงุดหงิด ฉุนเฉียว ทำให้สงบลง

8.   ช่วยลดพฤติกรรทและความคิดที่ก่อปัญหาเป็นประจำได้

9.   ช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีคิดให้สามารถทำงานกับสมองที่ไม่อยู่นิ่งให้ดีขึ้น

10.  ช่วยเพิ่มทักษะในการคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

11.  ช่วยให้มีความสงบ มีสมาธิ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่

12.  ช่วยให้ปรับสมดุลของชีวิต ช่วยในเรื่องความคิด และการกระทำ

 


 

 

นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัด Brainspotting เชื่อมั่นในการทำจิตบำบัดด้วยวิธีฺBrainspotting Therapy เนื่องจากเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่มีประสิทธิภาพต่อการบำบัดภาวะความผิดปกติทางด้านจิตเวชหรือสภาวะทางจิตที่มีปัญหา และBrainspotting Therapy ให้เห็นผลลัพธ์ที่เร็วและ มีประสิทธิภาพกว่าทำtalk therapy หรือ counseling พูดคุยปรึกษานักจิตวิทยาในแบบดั้งเดิม

Brainspotting Therapy เข้าทำงานตรงกับ neocortex ส่วนที่อยู่ข้างในสมองที่ทำหน้าที่ในการทำงานด้านความคิดขั้นวิเคราะห์ excecutive function และทำให้มีการเชื่อมต่อกับการทำงานด้าน subcortex ที่ทำงานในระบบควบคุมอารมณ์

การทำจิตบำบัด Brainspotting สมองจะพยายามค้นหาตำแหน่งที่ความทรงจำที่ติดขัดไม่ได้รับการแก้ไขในตำแหน่งsubcortical ในสมองส่วนในให้เจอ และเมื่อค้นเจอก็จะทำการจัดการปลดล็อค จึงทำให้กระบวนการประมวลผลในสมองและการจัดเก็บข้อมูลได้ถูกทำให้เสร็จสมบรูณ์ ปลดล็อคแก้ปมความเจ็บถูกปลดปล่อย ทำให้อาการของโรคทางจิตเวชต่างๆได้รับการฟื้นฟูกลับมาสู่ภาวะปกติ

การตอบสนองด้านร่างกายที่เจ็บป่วยเรื้อรังมานานหรือโรคกล้ามเนื้อการตุกต่างๆได้เกิดการฟื้นฟูและหายในที่สุด

Brainspotting Therapy เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการทำจิตบำบัดเพื่อปลอดล็อคการทำงานด้านสมองที่ติดขัดส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ ความเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ การทำจิตบำบัดของBrainspotting Therapy จะทำควบคู่กับการกระตุ้นสมองสองด้านทำให้เกิดการโฟกัสและจัดการกับความทรงจำที่หลบซ่อนอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากอยากรู้ว่า Brainspotting Therapy สามารถช่วยลดอาการโรคทางจิตเวชและสามารถช่วยคนที่มีภาวะสมาธิสั้น(ADHD)ได้อย่างไร สามารถเข้ารับการทำบำบัดได้แล้ววันนี้

 

อ้างอิง

https://zencare.co/therapy-type/brainspotting
https://nipinthebud.org/child-mental-health-conditions/recognising-adhd/
https://www.personalizedsolutionsllc.com/adhd
https://edgefoundation.org/sir-richard-branson-adhd-entrepreneur-extraordinaire/
https://www.cdc.gov/ncbddd/adhd/diagnosis.html

https://brainspottingtherapists.squarespace.com/whatisbrainspotting
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adult-adhd/diagnosis-treatment
https://askcounseling.com/brainspotting/https://zencare.co/therapy-
https://zencare.co/therapy-type/brainspotting
https://globalcitizentherapy.com/brainspotting/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้